การรายงานการป่วยและการตายผิด ๆ ของ ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19

ประธานาธิบดีทรัมป์อ้างว่านับคนตายเกินจริง

ในเดือนสิงหาคม 2020 ประธานาธิบดีสหรัฐดอนัลด์ ทรัมป์ทวีตว่า จำนวนคนตายเนื่องกับโควิด-19 ที่รายงานในสหรัฐ จริง ๆ ร้อยละ 6 เท่านั้นเกิดจากโรค แต่ก็นับเอาแต่มรณบัตรที่ระบุโควิด-19 เท่านั้นว่าเป็นเหตุต่อมาในเดือนตุลาคม หัวหน้านักสถิติอัตราการตายที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (ซีดีซี) จึงกล่าวว่า มรณบัตรเหล่านั้นไม่ได้ระบุลำดับเหตุการณ์ทั้งหมดที่นำไปสู่ความตาย ดังนั้น จึงไม่สมบูรณ์แต่ซีดีซีประมวลข้อมูลการตายอาศัยการสอดส่องกรณีคนไข้ (case surveillance) บันทึกการตาย (vital record) และการตายเพิ่มผิดปกติ (mortality displacement)[108]ส่วนเว็บไซต์ FactCheck.org รายงานว่า แม้มรณบัตรเพียงร้อยละ 6 จะระบุโควิด-19 ว่าเป็นเหตุอย่างเดียวของการตาย โดยที่เหลือร้อยละ 94 มีภาวะอื่น ๆ ที่เป็นเหตุสนับสนุนให้ตาย แต่โควิด-19 ก็ระบุว่าเป็นเหตุการตายของมรณบัตรถึงร้อยละ 92 เพราะมันอาจเป็นเหตุให้เกิดอาการรุนแรงอื่น ๆ รวมทั้งปอดบวมและกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน[109]ในกลางเดือนตุลาคม 2020 จำนวนคนตายเพราะโควิด-19 ในสหรัฐรายงานอยู่ที่ 218,511 ราย (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ), 219,681 ราย (มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์) และ 219,541 ราย (หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์)

ข้อมูลไม่ดี

ในสหรัฐ การรับมือกับการระบาดทั่วมีอุปสรรคเนื่องกับเทคโนโลยีที่ล้าสมัย (รวมทั้งเครื่องโทรสารและรูปแบบข้อมูลที่ส่งแลกเปลี่ยนกันไม่ได้)[110]การส่งและการบริหารข้อมูลที่ไม่ดี (หรือแม้แต่ไม่ได้ข้อมูลเลย) การไร้มาตรฐาน และการไร้ความเป็นผู้นำจากรัฐบาลกลาง[111]กฎหมายภาวะส่วนตัวยังเป็นปัญหาจนกระทั่งถึงขั้นว่า เป็นตัวยับยั้งการติดตามค้นหาคนที่มาสัมผัสกับผู้ป่วย[112]และข้อมูลที่จำเป็นบางครั้งกลับบิดเบือนอย่างจงใจในบางที่ เช่น ในรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐ[113]

จำนวนการตายที่ระบุว่าเป็นข่าวรั่ว

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว Taiwan News ตีพิมพ์บทความที่อ้างว่าบริษัทอินเทอร์เน็ตจีน Tencent อาจรั่วข่าวโดยอุบัติเหตุที่แสดงอัตราการตายและการติดโรคจริง ๆ ในจีนคือสำนักข่าวระบุว่า ระบบ Tencent Epidemic Situation Tracker ได้แสดงกรณีติดโรคและจำนวนคนตายเป็นหลายเท่าของจำนวนทางการ โดยอ้างโพสต์เฟซบุ๊กของเจ้าของร้านขายเครื่องดื่มในไต้หวันและคนไต้หวันนิรนามอีกคนหนึ่ง[114]สำนักข่าวอื่น ๆ ก็ได้อ้างอิงบทความนี้จนกระจายไปอย่างกว้างขวางในทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และ 4chan การกระจายข่าวได้จุดชนวนทฤษฎีสมคบคิดมากมายที่ระบุว่า รูปตัวอย่างแสดงจำนวนการตายจริง ๆ ซึ่งต่างกับที่ระบุโดยทางการ[115]รองศาสตราจารย์แผนกสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์อธิบายว่า ตัวเลขจจากข่าวที่ "รั่ว" มาเช่นนี้ไม่สมเหตุผลและไม่สมกับความจริง เพราะโรคมีอัตราความตายทซึ่งต่ำกว่าที่ข่าวระบุมากส่วนโฆษกของ Tencent ตอบโดยอ้างว่า รูปนั้นสร้างขึ้น และมันประกอบด้วย "ข้อมูลผิด ๆ ที่เราไม่เคยตีพิมพ์"[116]

ต่อมาผู้เขียนข่าวเบื้องต้นก็ได้ให้สัมภาษณ์ทางทีวีแล้วยืนยันความเป็นจริงและความควรเป็นข่าวของข้อมูลรั่วเช่นนี้[115]

การเผาศพหมู่ในอู่ฮั่น

ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2020 มีรายงานในทวิตเตอร์ว่า มี "ข้อมูล" ที่แสดงว่ามีการปล่อยสารกำมะถันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเหนือเมืองอู่ฮั่นแล้วอ้างต่อไปว่า มีเหตุจากการเผาคนติดไวรัสโครนาที่เสียชีวิตโดยเผาเป็นหมู่ซึ่งสำนักข่าวอื่น ๆ นำไปเผยแพร่ รวมทั้งสำนักข่าวอังกฤษแนวตื่นเต้น Daily Express, Daily Mail และสำนักข่าวไต้หวัน Taiwan News[117][115] เว็บไซต์ตรวจความจริง Snopes ต่อมาหักล้างข้อมูลผิด ๆ นี้ โดยชี้ว่าแผนที่ซึ่งใช้ในข้ออ้างไม่ใช่ค่าระดับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เหนือเมืองอู่ฮั่นในเวลาจริงเป็นเพียงแต่แบบจำลองที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นอาศัยข้อมูลตามประวัติและตามที่พยากรณ์[118]

ข้อมูลผิด ๆ เพื่อโจมตีไต้หวัน

ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2020 สำนักข่าวรัฐบาลไต้หวันคือ Central News Agency รายงานว่า มีข้อมูลผิด ๆ เป็นจำนวนมากที่ปรากฏในเฟซบุ๊กซึ่งอ้างว่า การระบาดทั่วของโควิด-19 ในไต้หวันควบคุมไม่ได้ ว่ารัฐบาลได้ปกปิดการติดโรค และประธานาธิบดีไต้หวันไช่ อิงเหวินได้ติดโรคองค์กรตรวจสอบความจริงในไต้หวันเสนอว่า ข้อมูลผิด ๆ ในเฟซบุ๊กคล้ายกับที่พบในจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะใช้อักษรจีนตัวย่อและศัพท์ภาษาจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งองค์กรเตือนว่า จุดประสงค์ก็เพื่อโจมตีรัฐบาลไต้หวัน[119][120][121]

ในเดือนมีนาคม 2020 สำนักงานสืบสวนของกระทรวงยุติธรรมไต้หวันเตือนว่า จีนกำลังพยายามตัดทอนความเชื่อใจในข่าวจริงโดยวาดภาพรายงานของรัฐบาลไต้หวันว่าเป็นข่าวปลอมเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงได้รับคำสั่งให้ใช้ทุกวิถีทางเพื่อตรวจว่าบทความเหล่านี้สัมพันธ์กับคำสั่งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนหรือไม่แต่สำนักงานไต้หวันของจีนแผ่นดินใหญ่ก็ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ โดยระบุว่าเป็นการโกหก และว่าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้ากำลัง "กระตุ้นให้เกลียดกัน" ระหว่างจีนทั้งสองฝ่าย[122]แต่ตามหนังสือพิมพ์อเมริกันเดอะวอชิงตันโพสต์ จีนก็ได้รณรงค์ทำข้อมูลเท็จเพื่อโจมตีไต้หวันเป็นทศวรรษ ๆ แล้ว[123]

ส่วนผู้อำนวยการด้านวิจัยที่สถาบันเพื่ออนาคตอันเป็น think tank ได้วิเคราะห์โพสต์เหล่านั้นแล้วสรุปว่า โดยมากมาจากผู้ใช้ธรรมดา ๆ ในจีน ไม่ใช่มาจากรัฐแต่เขาก็วิจารณ์รัฐบาลจีนในฐานะอนุญาตให้ข้อมูลผิด ๆ เหล่านั้นกระจายออกนอกประเทศ (ผ่านการตรวจพิจารณาของ Great Firewall) ซึ่งเขาจัดว่า "มุ่งร้าย"[124]ตามสำนักข่าว Taiwan News ข้อมูลผิด ๆ 1/4 เชื่อว่ามาจากจีน[125]

ในวันที่ 27 มีนาคม 2020 องค์กรไม่หวังผลกำไรที่รัฐบาลสหรัฐจัดตั้งในไต้หวันคือ American Institute in Taiwan ประกาศว่าจะร่วมมือกับศูนย์เช็คความจริงของไต้หวันเพื่อแก้ปัญหาข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับโควิด-19[126]

การใช้แผนที่ผิด ๆ

ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ แผนที่ซึ่งเก่าแก่เป็นทศวรรษและแสดงการระบาดของไวรัสที่เป็นไปได้ของโปรเจ็กต์ World Population Project ถูกนำไปใช้อย่างผิด ๆ โดยสำนักข่าวออสเตรเลีย (รวมหนังสือพิมพ์แนวตื่นเต้นอังกฤษ คือ The Sun, Daily Mail และ Metro)[127]ซึ่งอ้างว่าเป็นแผนที่ระบุการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในปี 2020 แล้วต่อมาก็กระจายไปตามสื่อสังคมของสำนักข่าวเหล่านั้น ๆ แม้สำนักข่าวบางส่วนภายหลังจะลบแผนที่ออก บีบีซีก็รายงานว่ายังมีบางส่วนที่ยังคงแผนที่ไว้[127]

นางพยาบาลนักเปิดเผย

วันที่ 24 มกราคม 2020 มีวิดีโอเกี่ยวกับบุคคลที่ดูเหมือนกับพยาบาลจีนในมณฑลหูเป่ย์ที่กระจายไปตามออนไลน์[128]ซึ่งกล่าวถึงสถานการณ์ในอู่ฮั่นอันร้ายแรงกว่าที่รัฐบาลรายงานคืออ้างว่าคนเกิน 90,000 คนได้ติดเชื้อไวรัสในจีน ว่าไวรัสอาจติดต่อจากคน ๆ เดียวไปยัง 14 คน (R0=14) และว่าไวรัสกำลังกลายพันธุ์เป็นรอบที่สอง[129]มีคนดูวิดีโอเป็นล้าน ๆ ครั้งในสื่อสังคมต่าง ๆ และกล่าวถึงในรายงานออนไลน์ต่าง ๆ มากมาย

บีบีซีระบุว่า ผิดจากคำบรรยายภาษาอังกฤษที่มีในวิดีโอรุ่นหนึ่ง หญิงผู้นี้ไม่ได้อ้างว่าเป็นพยาบาลหรือหมอ และเครื่องแบบและหน้ากากของเธอก็ไม่เหมือนกับที่บุคลากรทางแพทย์ในมณฑลหูเป่ย์ใส่[8]ข้ออ้างเกี่ยวกับ R0=14 ก็ไม่เข้ากับการประเมินของผู้เชี่ยวชาญซึ่งให้ค่าประเมินระหว่าง 1.4-2.5 ในตอนนั้น[130]และการอ้างการติดเชื้อถึง 90,000 รายก็ไม่มีข้อพิสูจน์อะไร[8][129]

การลดใช้โทรศัพท์มือถือ

มีการระงับใช้โทรศัพท์มือถือถึง 21 ล้านรายสำหรับบริษัทโทรศัพท์มือถือใหญ่สุด 3 รายในจีน ซึ่งก่อข้อมูลผิด ๆ ว่า นี่เป็นหลักฐานว่าเกิดคนตายเป็นล้าน ๆ เพราะไวรัสโคโรนาในจีน[131]เพราะการะงับเกิดเนื่องกับเศรษฐกิจที่แย่ลงและการลดการติดต่อทางสังคมในช่วงการระบาดทั่ว[131]

Casedemic

ผู้ปฏิเสธโควิด-19 ได้ใช้คำว่า "casedemic" (แทน pandemic) โดยเป็นทฤษฎีสมคบคิดหนึ่งที่ว่า โควิด-19 ไม่เป็นอันตรายและจำนวนโรคซึ่งรายงานเป็นเพียงผลของการตรวจสอบที่เพิ่มขึ้นแนวคิดนี้ดึงดูดใจนักปฏิบัติการต่อต้านวัคซีนเป็นพิเศษ ผู้ใช้แนวคิดเพื่ออ้างว่า ปฏิบัติการทางสาธารณสุขโดยเฉพาะวัคซีน ไม่จำเป็นเพื่อแก้สิ่งที่พวกเขาเรียกว่าการระบาดทั่วจอมปลอม[132][133][134][135]

วิศวกรชื่อว่า Ivor Cummins ดูเหมือนจะเป็นคนบัญญัติคำนี้ขึ้นในเดือนสิงหาคม 2020 เป็นบุคคลนิยมในหมู่ผู้ปฏิเสธโควิด-19[132]ผู้สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกคนหนึ่ง (Joseph Mercola) ได้นำคำนี้ไปใช้ เมื่อพูดเกินจริงถึงผลบวกเทียมที่ได้ในการตรวจโรคด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (PCR) เพื่อสร้างเรื่องเท็จว่า การตรวจเช่นนี้ไม่สมเหตุผลจริง ๆ แล้ว ปัญหาของ PCR เป็นเรื่องที่รู้กันดีอยู่แล้ว และเจ้าหน้าที่ก็ทำการเพื่อชดใช้ผลบวกเทียมแล้วคำปฏิเสธโควิดเช่นนี้ยังละเลยการกระจายโรคแบบไร้อาการ จำนวนกรณีที่อาจไม่ได้ตรวจในช่วงเบื้องต้นของการระบาดทั่ว เทียบกับปัจจุบันที่ได้เพิ่มการตรวจและเพิ่มความรู้หลังจากช่วงนั้น และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการตรวจด้วย PCR[132]

ใกล้เคียง

ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 ข้อมูล ข้อมูลมหัต ข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้ ข้อมูลอภิพันธุ์ ข้อมูล (คอมพิวเตอร์) ข้อมูลด้านสุขภาพในวิกิพีเดีย ข้อมูลผู้เข้าร่วมรายบุคคล ข้อมูลส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก ข้อมูลแบบเปิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 http://news.sina.com.cn/o/2020-02-17/doc-iimxxstf2... http://news.cctv.com/2020/01/25/ARTIce5OB5W3sORPe9... http://dongascience.donga.com/news.php?idx=35457 http://start.loandepot.com/assets/int-email/disast... http://www.szhgh.com/Article/opinion/zatan/2020-01... http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/20... http://www.xilu.com/20200126/1000010001119697.html http://www.xinhuanet.com/politics/2020-03/16/c_112... http://www.rfi.fr/en/africa/20200414-press-freedom... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16335659